หน้าแรก | เกี่ยวกับเรา | ติดต่อเรา | การชำระเงินและขนส่ง | แผนผังเว็บไซด์ | แผนที่ | ข่าวสาร | แลกลิ้งค์ 

 

 
 

 เครื่องดูดควัน
 

ในสมัยก่อน
ห้องครัวตามบ้าน
มักจะแยกออกเป็นห้องอย่างเป็นสัดส่วน
มีหน้าต่างสำหรับ การระบายอากาศอย่างเพียงพอ
ทำให้ผู้ที่เข้าไปใช้ครัว
หรือผู้ที่อยู่ในส่วนอื่นๆ ของบ้าน
ไม่รู้สึกอึดอัดหรือเกิดกลิ่นควัน
รบกวนมากนักในเวลาทำอาหาร

 
แต่ในปัจจุบันซึ่งสภาพความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลงไป
ครอบครัวจำนวนมาก
ต้องอาศัยอยู่ในอาคารชุดหรือแฟลต
แทนการอยู่บ้านเดี่ยว
ลักษณะของอาคารดังกล่าว
ส่วนใหญ่จะรวมห้องรับแขก
ห้องรับประทานอาหาร
และห้องครัวไว้ในบริเวณเดียวกัน
โดยไม่มีการกั้นห้อง
และอีกจำนวนไม่น้อย
ที่ต้องอาศัยอยู่ทาวน์เฮาส์
ซึ่งมีระบบการระบายอากาศที่ไม่ดีนัก
เป็นผลให้การทำอาหารในแต่ละครั้ง
เกิดกลิ่น ควัน และความร้อนรบกวนไปทั้งบ้าน
 
 
ดังนั้นเครื่องดูดควัน
จึงเข้ามามีบทบาทในการแก้ปัญหาดังกล่าว
เครื่องดูดควันนี้
นอกจากจะช่วยรักษาสุขภาพของผู้อยู่อาศัยในบ้าน
โดยช่วยลดความร้อน
และกลิ่นควันต่างๆ แล้ว
ยังช่วยลดความสกปรกของห้องครัว
และบริเวณข้างเคียง
จากคราบไขมันและเขม่าต่างๆ อีกด้วย
เครื่องดูดควันจึงกลายเป็นสิ่งจำเป็น
สำหรับห้องครัวตามบ้านแทบทุกหลัง
ไม่ว่าจะเป็นทาวน์เฮาส์
อาคารชุด หรือแม้แต่บ้านเดี่ยวก็ตาม
 

เมื่อกล่าวถึงเรื่องเครื่องดูดควันแล้ว
หลายคนคงจะเคยสังเกต
ตามร้านอาหารที่มีปล่องดูดควัน
ทรงสี่เหลี่ยมคางหมู
ติดตั้งอยู่เหนือเตา
ปลายปล่องจะติดตั้งพัดลม
และมอเตอร์กำลังแรงเพื่อดูดควัน
และความร้อนจากการทำอาหาร
ให้ออกสู่ด้านบน
 
 
เครื่องดูดควันลักษณะดังกล่าว
มีประสิทธิภาพในการดูดควันสูง
มักต้องสั่งทำแต่ละส่วน
เช่น ตัวปล่อง ( hood )
พัดลม
และมอเตอร์
แล้วนำมาประกอบกัน
จึงไม่ค่อยมีความสวยงามกลมกลืน
เครื่องดูดควันประเภทนี้มักใช้กันตามร้านอาหาร
ที่ต้องทำอาหารเป็นจำนวนมาก ในแต่ละวัน
มากกว่าที่จะนำมาใช้ตามบ้านเรือน
เนื่องจากมีรูปแบบ ไม่สวยงาม
ติดตั้งยาก
และเกินความจำเป็น
จึงนำมากล่าวถึงเพียงเพื่อ
ให้เห็นระบบการทำงาน
แบบพื้นฐานของเครื่องดูดควันโดยทั่วไปเท่านั้น
 

สำหรับเครื่องดูดควันที่ใช้ตามบ้านเรือน
มีลักษณะการทำงาน
โดยพื้นฐานไม่แตกต่างไปจาก
เครื่องดูดควันที่กล่าวมาข้างต้น
เพียงแต่การออกแบบ
จะมีความสวยงามกลมกลืน
กะทัดรัด ติดตั้ง สะดวกกว่า
และสามารถดัดแปลงการใช้งาน
ให้เหมาะสมกับสถานที่ห้องได้
แต่ประสิทธิภาพการใช้งาน
จะค่อนข้างต่ำ
เนื่องจากมีขนาดเล็ก
 

การเลือกเครื่องดูดควัน
สำหรับใช้งานในบ้าน
 มีประเด็นที่สำคัญที่ควรสนใจและพิจารณาดังต่อไปนี้
1. รูปแบบและขนาด
2. ระบบดูดควัน
3. การเตรียมการสำหรับการติดตั้ง
 
1.รูปแบบและขนาด
เครื่องดูดควันที่ใช้กันตามบ้าน
จะมีรูปแบบภายนอก
และระบบควบคุมการทำงานของเครื่อง
ที่คล้ายคลึงกัน กล่าวคือ
จะมีสวิตช์เปิดและปิดเครื่อง
สวิตช์ควบคุมความแรงพัดลม
และสวิตช์ ไฟส่องสว่าง
มีขนาดความกว้างของตัวเครื่อง
ให้เลือกอยู่ในช่วง 60-90 เซนติเมตร
ขึ้นอยู่กับพื้นที่ของห้องครัว
และขนาดของเตาไฟ
ที่ใช้ในการทำอาหาร
โดยเครื่องดูดควันขาดใหญ่จะมีพัดลม 2 ตัว
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูดควัน
ในขณะที่เครื่องขนาดเล็ก
จะมีพัดลมเพียงตัวเดียว
ดังนั้นประเด็นนี้จึงเป็นประเด็นแรกที่ต้องพิจารณา
ในการเลือกซื้อ
เพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งาน
นอกเหนือไปจากการเลือกยี่ห้อ 
 
2.ระบบการดูดควัน
 
เครื่องดูดควันประเภทนี้สามารถแบ่งระบบการดูดควันออกได้เป็น 2 ระบบใหญ่ๆ ได้แก่
2.1 ระบบดูดควันภายนอก
เป็นระบบที่มีการต่อท่อเพื่อดูดเอากลิ่น
และควันต่างๆ ออก สู่ภายนอก
โดยพัดลมที่ติดตั้งอยู่ที่ตัวเครื่อง
จะทำหน้าที่ดูดกลิ่น ควันและไอน้ำมันต่างๆ
ออกทางท่อ ที่ต่ออยู่ทางด้านบนหรือด้านหลังของเครื่อง
เพื่อนำออกสู่ภายนอก
โดยผ่านแผ่นใยสังเคราะห์ที่ติดตั้งไว้
เพื่อกรองเอาคราบไขมันและเขม่า
ที่จะไปเกาะติดที่ตัวพัดลมของเครื่อง
การติดตั้งและใช้งานระบบนี้
ค่อนข้างยุ่งยาก
เพราะต้องเจาะกำแพงหรือหลังคา
และเตรียมแนวทางเดินของท่อควันเอาไว้ล่วงหน้า
แต่ระบบนี้มีประสิทธิภาพในการดูดควันค่อนข้างดี
เพราะมีการดูดอากาศออกสู่ภายนอก
 
2.2 ระบบหมุนเวียนภายใน
เป็นระบบที่ไม่มีการต่อท่อ
เพื่อดูดควันเอากลิ่นและควันต่างๆ ออกสู่ภายนอก
แต่จะมีการติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มเติม
เพื่อดูดซับกลิ่น ควันและไอน้ำมันต่างๆ แทน
นอกเหนือจากแผ่นใยสังเคราะห์
ที่ติดตั้งไว้เช่นในระบบแรก
โดยอุปกรณ์เพิ่มเติมดังกล่าวจะทำจากวัสดุ
จำพวกถ่านกัมมันต์ ( activated charcoal filter )
ซึ่งจะดูดซับกลิ่น ควัน และเขม่าต่างๆ ได้ดี
โดยจะทำการติดตั้งไว้ตรงด้านล่าง
ใกล้กับตัวพัดลมที่ทำหน้าที่ดูดควัน 
การติดตั้งและการใช้งานของระบบนี้ค่อนข้างง่าย
เพราะไม่ต้องมีการเจาะกำแพงหรือหลังคา
หรือเดินท่อให้ยุ่งยาก
เหมาะสำหรับใช้ในห้องครัวของอาคารชุด แฟลต หรือทาวน์เฮาส์
ซึ่งไม่มีจุดที่ จะให้ต่อท่อเพื่อระบายควันออก
แต่ประสิทธิภาพในการดูดควันของระบบนี้ค่อนข้างต่ำ
เพราะอุปกรณ์ ดูดซับที่ติดตั้งไว้
สามารถดูดซับกลิ่น ควัน และเขม่าได้อย่างจำกัด
และต้องคอยเปลี่ยนใหม่เป็นระยะๆ
เมื่ออุปกรณ์ดังกล่าวหมดสภาพ
อีกทั้งกำลังลมในการดูดควันต่างๆ
ก็ให้ผลได้ไม่เต็มที่เนื่องจากไม่มี ช่องระบายลมออก

เครื่องดูดควันที่วางจำหน่ายในท้องตลาด
ส่วนใหญ่จะมีทั้ง 2 ระบบ
ในเครื่องเดียวกันให้เลือกใช้
โดยจะมีช่องสำรองไว้ทั้งบริเวณด้านบนและด้านหลัง
ของตัวเครื่องไว้สำหรับต่อท่อเพื่อระบายอากาศ
ออกสู่ภายนอกได้
โดยจะมีฝาปิดไว้ให้ในกรณีที่ไม่ได้ใช้งาน
และอุปกรณ์ดูดซับกลิ่นและควันต่างๆ
เพิ่มเติมมาให้ด้วย
เพื่อให้ทำการติดตั้งเพิ่มเติมเข้าไปได้
สำหรับการใช้งานในระบบหมุนเวียนภายใน
แต่ผู้เขียนขอแนะนำว่าถ้าไม่จำเป็นจริงๆ
แล้วไม่ควรเลือกใช้ระบบหมุนเวียนภายใน
เพราะให้ประสิทธิ ภาพในการใช้งานต่ำ
ควรใช้ระบบดูดออกภายนอก
ซึ่งให้ประสิทธิภาพดีกว่ามาก
 
การเตรียมการสำหรับการติดตั้ง
เนื่องจากเครื่องดูดควัน
เป็นอุปกรณ์ที่จะต้องติดตรึงเข้ากับผนังหรือตู้ภายในห้องครัว
ฉะนั้นจึง จำเป็นต้องมีการเตรียมการไว้บ้าง
เพื่อให้การติดตั้งทำได้อย่างเหมาะสมและเรียบร้อย
โดยการติดตั้ง อาจแบ่งออกได้เป็น 2 จุดใหญ่ๆ คือ
การติดตั้งตัวเครื่องและการเดินท่อดูดควัน
 
การติดตั้งตัวเครื่อง
ในการติดตั้งตัวเครื่อง
ประการแรก
ที่จะต้องพิจารณาคือตำแหน่งที่จะติดตั้งทั้งนี้
จะต้องสอดคล้อง
กับการวางตำแหน่งของเตาไฟเป็นหลัก
ในกรณีที่ต้องการ
จะใช้ระบบดูดควันแบบดูดออกภายนอก
จะต้องดูตำแหน่งที่สามารถจะเดินท่อดูดควันออกไ
ด้ควบคู่ไปด้วย
ในแง่ของการติดยึด เครื่องดูดควัน
ส่วนใหญ่มักออกแบบ
ให้สามารถติดยึดได้ 2 ด้าน คือ
จะติดยึดจากด้านบน
โดยยึดเข้ากับตู้แขวน ติดผนังในครัวก็ได้
หรือจะติดยึดจากด้านหลัง
โดยยึดเข้ากับตัวผนังโดยตรงก็ได้
ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว
สำหรับห้องครัวที่มีการทำตู้แขวนติดผนัง
การติดยึดเครื่องดูดควัน
เข้ากับตู้แขวนจากด้านบนจะให้ความสวยงาม
กลมกลืนมากกว่า
การติดยึดเข้ากับผนัง
จากด้านหลังเพราะสามารถทำการปรับระดับ
และร่องห่างต่างๆ ได้ดีกว่า
แต่ทั้งนี้การออกแบบตู้แขวน
จะต้องเตรียมการไว้ล่วงหน้า
เพื่อให้เหมาะกับเครื่องดูดควันรุ่นที่
จะติดตั้งด้วย ทั้งในแง่ของรูปแบบ
และตำแหน่งที่จะทำการติดยึด
อีกประเด็นหนึ่ง
ในแง่ของการติดตั้ง
ซึ่งมักจะถูกละเลยหรืออาจจะเป็นเพราะไม่ทราบก็ได้
นั่นคือ ระดับความสูงของการติดตั้ง
เครื่องดูดควันว่าควรจะวางอยู่ในระดับใดจึงจะเหมาะสม
เพราะ ถ้าติดตั้งไว้ต่ำเกินไปเครื่องดูดควัน
จะได้รับความร้อนจากเตาไฟมากเกินไป
ทำให้อายุการใช้งานสั้น
หรือเกิดอันตรายขึ้นได้
แต่ถ้าติดตั้งไว้สูงเกินไป
จะทำให้การดูดกลิ่นและควันต่างๆ
ไม่ค่อยได้ผล
โดยทั่วไปแล้วการกำหนดระดับความสูง
ของการติดตั้งเครื่องดูดควันจ
ะเทียบกับระดับความสูงของเตาไฟเป็นเกณฑ์
คือควรจะติดตั้งอยู่สูงเหนือเตาไฟ
ประมาณ 65-80 เซนติเมตร จ
ะได้ผลดีทั้งในแง่ของประสิทธิภาพการใช้งาน
และความปลอดภัย
 

นอกจากนี้
ตำแหน่งที่คาดว่าจะทำการติดตั้ง
ควรจะเตรียมเดินสายไฟ
เอาไว้โดยเฉพาะบ้านที่
 มีการเดินสายไฟแบบฝังในผนัง
ควรกำหนดตำแหน่งไว้แต่แรก
แล้วเดินสายไฟเอาไว้เลยจะได้ไม่ต้อง
เดินสายลอยในภายหลัง
แต่ถ้าเป็นไปได้ควรมีการเดินสายดิน
ไว้ด้วยเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้
การเชื่อมต่อไฟบ้าน
เข้ากับตัวเครื่องนั้น
ควรจะมีสวิตช์หรือเบรกเกอร์ควบคุม
จากจุดภายนอกโดยเฉพาะ
 ด้วยเผื่อในกรณีที่เครื่องดูดควัน
มีปัญหาหรือต้องถอดออกไปซ่อมแซม
จะได้สามารถตัดไฟที่จะเข้า
เครื่องได้โดยไม่กระทบกระเทือน
ถึงระบบไฟฟ้าส่วนอื่นในบ้าน

 
การเดินท่อดูดควัน
ในกรณีที่เลือกใช้เครื่องดูดควันระบบภายนอก
จะต้องมีการติดตั้งท่อ
เพื่อนำควันที่ดูดออกสู่ ภายนอก
ถ้าเป็นบ้านที่กำลังปลูกสร้างอยู่
ก็น่าจะทำการเจาะช่องผนังเตรียมไว้
เพื่อใช้สำหรับการเดินท่อดังกล่าว
ทั้งนี้ ควรจะมีการเลือกรุ่นและแบบของเครื่องดูดควัน
ที่จะนำมาติดตั้งเอาไว้ก่อน
กำหนดตำแหน่งที่
จะทำการติดตั้งให้แน่นอน
ตลอดจนศึกษาหาข้อมูลเบื้องต้น
ในสิ่งที่เกี่ยวข้องกับการติดตั้ง
และเดินท่อดูดควันจากผู้ขายเสียก่อน
ในกรณีที่มีการทำตู้แขวนติดผนังเหนือเครื่องดูดควัน
อาจจะต้อง ดัดแปลงตู้
โดยเจาะช่องด้านหลังหรือด้านบนของตู้
เอาไว้ให้พอดีกับตำแหน่งของท่อดูดควัน
ที่ติดตั้ง การ เตรียมการต่างๆ ข้างต้น
ถึงแม้ว่าจะดูยุ่งยากบ้างในตอนต้น
แต่ก็ช่วยให้การติดตั้งเครื่องดูดควันและอุปกรณ์ต่างๆ
เป็นไปอย่างเรียบร้อย
เพราะถ้าหากเพิ่งคิดจะทำหลังจากที่การปลูกสร้างบ้าน
และการติดตั้งตู้ต่างๆ ทำเสร็จเรียบร้อยแล้ว
การเตรียมการและการติดตั้งจะยุ่งยากขึ้น
อาจต้องมีการรื้อหรือดัดแปลงแก้ไข
หลายอย่าง และผลงานที่ออกมา
ก็จะไม่เรียบร้อยเท่าที่ควร
ในเรื่องการเดินท่อดูดควัน
มีข้อสังเกตประการหนึ่ง
ที่ผู้เขียนใคร่ขอแนะนำเพราะเคยเห็น
ปัญหานี้มาก่อนแล้ว กล่าวคือ
การต่อท่อดูดควันออกนั้นหลายบ้าน
มักจะต่อท่อออกมาแล้วยกปลาย ท่อให้สูงขึ้น
เพราะคิดว่าจะช่วยให้ลมร้อน
ที่ดูดออกมาระบายออกได้สะดวก
ซึ่งดูเผินๆ ก็น่าจะถูกต้องอยู่
แต่การกระทำดังกล่าวอาจก่อให้เกิดปัญหาที่คาดไม่ถึงได้
ในกรณีที่ฝนตกและมีลมพัดเข้ามาในทิศทาง
ของท่อดูดควันนี้พอดี
และบริเวณนั้นไม่ได้มีการทำชายคา
หรือกันสาดเพื่อป้องกันเอาไว้
อาจทำ ให้น้ำไหลย้อนเข้ามายังเครื่องดูดควัน
ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหาย
ต่อเครื่องและเกิดอันตรายต่อผู้ใช้ได้
แต่ถ้ามีการวางระดับปลายท่อให้ต่ำลง
จากแนวท่อส่วนต้นเล็กน้อย
ก็จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้
และก็ ไม่เป็นอุปสรรค
ต่อการระบายลม
หรือการทำงานของเครื่อง
แต่อย่างใด 
 

จากที่ได้กล่าวผ่านมา
ทั้งในแง่ของความรู้บางอย่าง
เกี่ยวกับเครื่องดูดควันการเตรียมการสำหรับ การติดตั้ง
ตลอดจนข้อสังเกต
บางประการจากปัญหาที่เคยพบเห็น
คงจะช่วยให้ผู้อ่านมีความรู้เบื้องต้น
และข้อมูลต่างๆ
เพิ่มขึ้นเพื่อให้สามารถนำไปใช้พิจารณาเลือกซื้อ
และเตรียมการต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น
 
 
 
 

 

บทความ [ เครื่องดูดควัน]
http://www.srangbaan.com/library-ch19-smoke.htm?PHPSESSID=7f817e7930f04acdd62f27fe41b48d83
 

 
 

update ล่าสุด 22 กรกฎาคม 2552
ข่าวสารและบทความ
- ตรวจสอบก๊าซรั่วอย่างง่ายๆ
- สังเกตถังก๊าซหุงต้มคุณภาพ
- อุปกรณ์หุงต้มที่ใช้ก๊าซ
- ข่าวราคาก๊าซหุงต้ม
 
รายละเอียด
เครื่องดูดควัน
- ครัวมั่งคั่ง     
- ครัวสวยคู่บ้าน
- แต่งครัวให้ได้ประโยชน์สูงสุด
- เครื่องดูดควัน